logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตาก
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

 

 

ตราประจำจังหวัด
 
 
           รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างเหนือครุฑหลั่งน้ำทักษิโณฑก หมายถึง  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบอังวะนั้น พระมหาอุปราชเมืองพม่า สั่งให้ทหารคู่ใจคอยตีขนาบ และปลงพระชนม์เสียให้ได้ ความแตกรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง จึงทรงประชุมชาวเมือง และบรรดาแม่ทัพนายกอง เมื่อเดือน 2 ปีวอก พ.ศ. 2127 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑกเหนือแผ่นดิน ประกาศอิสระภาพไม่ยอมขึ้นกับเมืองอังวะอีกต่อไป จังหวัดตากเป็นด่านแรกที่สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง ยกกองทัพกลับเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับที่เมืองนี้เคยเป็นทางผ่าน ที่ชาวอินเดียเดินทางเข้าเมืองไทยในสมัยโบราณ

คำขวัญประจำจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล  ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมื่องไม้และป่างาม

ชื่อไม้ประจำจังหัวดตาก  :  ชื่อพรรณไม้  "แดง" ชื่อวิทยาศาสตร์  "Xylia kerrii"

ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก  ชื่อ  "เสี้ยวดอกขาว"

จังหวัดตาก :: ข้อมูลทั่วไป

      เมืองตาก ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ ด้านตะวันตก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตาก  จากฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มายังฝั่งซ้ายบริเวณ ตำบลล้านระแหง จนกระทั่งทุกวันนี้

      จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าเขาอันเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านตัวจังหวัด และมีแม่น้ำเมย เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย กับพม่า ที่อำเภอแม่สอด  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า

       ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 426 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 10,254,156 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่นักท่องเที่ยวรักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม  ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก

ประวัติและความเป็นมา

       จังหวัดตาก เป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุ เกินกว่า 2,000 ปี และเคยเป็นชุมชนโบราณ ที่มีการเพาะปลูก และ ล่าสัตว์ มีการปั้น เครื่องปั้นดินเผา และ หล่อโลหะ ประเภท สำริด จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณวัตถุหลายชิ้น ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไม้สอย ในยุคโลหะตอนปลาย ก่อนประวัติศาสตร์ คือ ประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว

       เดิมที ชุมชน ตาก ในอดีต คงเป็นเมืองที่ชาวมอญ สร้างขึ้น และเป็นราชธานีของแคว้นแถบตอนเหนือ ที่มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาหลายพระองค์ ในรัชสมัย พระเจ้าสักดำ ราวปี พ.ศ.560 เมืองตาก เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตแผ่ไปไกล จนจดทะเลอันดามัน และมีการติดต่อค้าขาย กับเมือง อินเดีย ด้วย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิส อพยพโยกย้ายผู้คน ไปสร้างราชธานีใหม่ ขึ้นที่ เมืองละโว้ ทางตอนใต้ของ เมืองตาก ทิ้งให้ ตาก กลายเป็นเมืองร้าง อยู่หลายร้อยปี

       จนราวปี พ.ศ.1310 - 1311 พระนางจามเทวีวงศ์ พระราชธิดา ในกษัตริย์ เมืองละโว้ เสด็จตามลุ่มน้ำปิง ผ่าน เมืองตาก เพื่อไปปกครอง แคว้น หริภุญไชย หรือ ลำพูน ในปัจจุบัน ทรงพบร่องรอยกำแพงเก่า ตามริมฝั่งแม่น้ำ จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นเป็นบ้านเมืองใหม่ เรียกกันว่า "บ้านตาก" ด้วยมีเรื่องเล่าว่า เป็นสถานที่ ที่พี่เลี้ยงของพระนาง ตากผ้า และสิ่งของที่เปียกชุ่ม ขณะเดินทางมาตามลำน้ำ

          หลังจาก พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในปี พ.ศ.1781 แล้ว พระองค์ได้  ยกทัพผ่านลงมาทางแหลมมลายู ปราบเมืองใหญ่น้อยที่เคยเป็นอาณาจักรทวารวดีและศรีวิชัย รวมเข้าเป็น อาณาจักร สุโขทัย เป็นผลให้มีการเปิดเส้นทางค้าขาย ทางบก ไปยังเมือง เมาะตะมะ ของ มอญ ซึ่งเป็นเมืองท่า ผ่านสินค้าต่อไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย และ อาระเบีย  โดยพ่อค้าไทย มักนำเครื่อง สังคโลก จาก สุโขทัย ผ่านแม่สอด ไปยัง เมาะตะมะ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ โดยทางเรือ  ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าจากเมือง เมาะตะมะ และประเทศ ทางตะวันตก กลับมาขายด้วย

       สมัย อยุธยา บ้านตาก เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สำหรับป้องกันกองทัพ พม่า ที่ยกทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา มีแม่ทัพนายกอง และไพร่พล จาก กรุงศรีอยุธยา มาประจำการ และยังเป็นที่ชุมนุมไพร่พล ทหารกล้า สำหรับการเดินทัพครั้งสำคัญ เพื่อเข้าตีเมือง เชียงใหม่ อีกหลายครั้ง ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ช่วงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราชขึ้นกับพม่า สมัย พระเจ้าหงสาวดี ได้ย้ายเมือง จาก บ้านตาก ลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. เรียกว่า "เมืองตากระแหง" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง  ฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่การ คมนาคมติดต่อ ระหว่างเมืองนี้ กับเมือง มอญ ใกล้กว่าที่เก่า

        ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เมือง ตากระแหง ถูก พม่า ตีแตก ผู้คนหนีไป บ้านเมืองร้าง จนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ  ได้  รวบรวมชาว เมืองตาก เดิม ที่ บ้านตาก และ เมืองตากระแหง มาตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายเมือง มาอยู่ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำปิง เพื่อให้ลำน้ำ เป็นปราการธรรมชาติ ที่ช่วยกั้นทัพ พม่า เมื่อ พม่า เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ บ้านเมืองสงบ ปลอดศึกสงคราม ตาก เริ่มมีการค้าขาย กับ พม่า และเมืองทาง ภาคเหนือ โดยอาศัยลำน้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ชุมชนจึงขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆในที่สุดตาก ก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า ทางเรือ ระหว่าง เชียงใหม่ นครสวรรค์ และ กรุงเทพฯ

                           

อาณาเขต

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน  จังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดลำพูน  และจังหวัดลำปาง

ทิศใต้           ติดต่อกับ จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ จังหวัดสุโขทัย  จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์  และจังหวัดอุทัยธานี

ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  ประเทศพม่า  มีแม่น้ำเมย เป็นพรมแดน

          จังหวัดตาก  ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง  สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้และภูเขา  มีเนื้อที่ประมาณ 16,406.650  ตารางกิโลเมตร  แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ  คือ   อำเภอเมืองตาก  อำเภอบ้านตาก  อำเภอสามเงา  อำเภอแม่สอด  อำเภอแม่ระมาด   อำเภอท่าสองยาง   อำเภออุ้มผาง   อำเภอพบพระ  และอำเภอวังเจ้า

 

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ  (รหัสทางไกล 055)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. 02-250-5500 ต่อ 1555-1563,02-694-1222 ต่อ 8
ททท.ภาคเหนือ เขต 4 055-514-341-3
ประชาสัมพันธ์จังหวัด 055-513-584
ตำรวจทางหลวงจังหวัดตาก 055-511-340
ตำรวจทางหลวงอำเภอแม่สอด 055-532-222
สภ.อ.เมือง 055-511-355
สภ.อ.ท่าสองยาง 055-589-013, 055-589-123
สภ.อ.บ้านตาก 055-591-009
สภ.อ.พบพระ 055-569-108
สภ.อ.แม่ระมาด 055-581-253
สภ.อ.แม่สอด 055-531-122, 055-531-130
สภ.อ.อุ้มผาง 055-561-011, 055-561-112
รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ 055-511-024-5, 055-513-983-4
รพ.ท่าสองยาง 055-589-020, 055-589-125, 055-589-255-6
รพ.บ้านตาก 055-591-435
รพ.พบพระ 055-569-023, 055-569-211-2
รพ.แม่ระมาด 055-581-136, 055-581-229
รพ.แม่สอด 055-531-224, 055-531-229
รพ.สามเงา 055-599-072, 055-549-257-8
รพ.อุ้มผาง 055-561-016, 055-561-270-2

 

 

                  

 

จังหวัดตาก :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

     จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเซีย  ผ่านประตูน้ำ พระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ  5 ชั่วโมงครึ่ง

รถโดยสารประจำทาง

     บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น เวลา 05.30-13.00 น. และ 16.30-22.00 น. และกรุงเทพฯ-แม่สอด ตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งหมอชิต โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66 http://www.transport.co.th/

     มีบริษัทเดินรถเอกชน ได้แก่ บริษัท ทันจิตต์ ทัวร์ วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ตั้งแต่เวลา 09.30-22.00 น., กรุงเทพฯ-แม่สอด เวลา 22.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5551 1307 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3210-13

     บริษัท เชิดชัย ทัวร์  วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ตั้งแต่เวลา12.30-22.00 น. กรุงเทพฯ-แม่สอดมีรถออกเที่ยวเดียวคือ เวลา 22.15 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5551 1054 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 0199

      นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัทเดินรถเอกชน มีบริการรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาวิ่ง  ระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ่อไร่ จังหวัดจันทบุรี สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่ง จังหวัดตาก     โทร. 0 5551 1057 สถานีขนส่ง อำเภอแม่สอด โทร. 0 5553 2949 และ บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด ถนนอินทรคีรี        อำเภอแม่สอด วิ่งระหว่างแม่สอด-เชียงราย-แม่สาย โทร. 0 5553 2331

      นอกจากนี้ยังมีบริษัทรถเช่าที่ให้บริการเช่ารถในเขตอำเภอเมืองอีกด้วย

 

เครื่องบิน

     บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบริการเที่ยวบินจากกรุงเทพ- แม่สอด สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2280 0060, 0 2628 2000 สอบถามรายละเอียด โทร. 1566 http://www.thaiairways.com/ สำนักงานแม่สอด โทร. 0 5553 1440, 0 5553 1730

     บริษัท สยาม จีเอ.จำกัด (Siam GA) บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-อุ้มผาง สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 2535 7050    อุ้มผาง โทร. 0 5556 1611-2 หรือ http://www.sga.aero/

 

การเดินทางระหว่างจังหวัดตากกับจังหวัดใกล้เคียง

        การเดินทางจากจังหวัดตากไปจังหวัดใกล้เคียง  นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางจากจังหวัดตากกลับกรุงเทพฯ หรือไปจังหวัดอื่นสามารถใช้บริการได้ทั้งจากเครื่องบิน  และรถประจำทาง

 

ระยะห่างระหว่าง จังหวัดตาก และจังหวัดใกล้เคียง

กำแพงเพชร  68 กิโลเมตร

สุโขทัย  79 กิโลเมตร

พิจิตร  157 กิโลเมตร

นครสวรรค์  185 กิโลเมตร


การเดินทางภายในตัวเมือง
มีรถต่างๆ ให้บริการดังต่อไปนี้

     รถสองแถว  มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง ตั้งแต่ 06.00 - 17.00 น. นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมือง และต่างอำเภอ คิดราคา วันละ 1,000 - 2,000 บาท  แล้วแต่ระยะทาง  และจำนวนคน  ควรต่อรองราคาก่อนจะตกลงกัน

     รถสามล้อเครื่อง มีจอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าบริษัท ทันจิตต์ทัวร์ หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการแล้วแต่ระยะทาง

     มอเตอร์ไซต์รับจ้าง จอดบริการอยู่ที่หน้าสถานีขนส่ง ค่ารถเท่ากับสามล้อเครื่อง

 

จังหวัดตาก :: ของฝาก ของที่ระลึก

     เมี่ยงคำเมืองตาก  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมี่ยงจอมพล ลักษณะเด่น และส่วนประกอบของเมี่ยง คือ มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด  ถั่วลิสงคั่ว  กุ้งแห้ง แคบหมู มะนาว หัวหอมแดง ขิงหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พริกขี้หนูสด เต้าเจี้ยว ข้าวเกรียบชุบน้ำให้อ่อนตัว แล้วนำส่วนประกอบ  ทั้งหมดห่อด้วยข้าวเกรียบ  ใส่น้ำเต้าเจี้ยวห่อให้พอดีคำ รับประทานเป็นของว่าง ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่นิยมกันมากในจังหวัดตาก และจังหวัดใกล้เคียง

     เส่งเผ่ และฮาละหว่า  เป็นชื่อของขนมหวานที่มาจากประเทศพม่า "เส่งเผ่ มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิต่างกันตรง หน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน "ฮาละหว่า ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย  กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสด เทศบาล อำเภอแม่สอด 

      กะบองจ่อ  เป็นอาหารทานเล่นชนิดหนึ่ง ชื่ออาหารมาจากภาษาพม่า คำว่า จ่อ หมายถึง ทอด กะบอง หมายถึง ฟักทอง โดยจะนำฟักทองมาชุบแป้งก่อนทอด  ทำให้มีสีเหลืองกรอบ เคล็ดลับความกรอบอยู่ที่ส่วนผสมแป้ง เรียกว่า แปม้ง ที่มาจากพม่า ทำจากถั่วเหลืองอ่อน ปัจจุบันมิได้มีแต่ ฟักทอง เพียงอย่างเดียว แต่มี  การนำผักชนิดอื่นมาทอดด้วย เช่น มะละกอดิบ น้ำเต้า ถั่วงอก โดยจิ้มน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของน้ำมะขามเปียก น้ำอ้อยเคี่ยว เกลือ ถั่วลิสงป่น และกระเทียม มีรสชาติเปรี้ยว หวาน มีจำหน่ายทั่วไปในตลาดอำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด

     ก๋วยเตี๋ยวพื้นเมือง  ลักษณะเด่นของก๋วยเตี๋ยวที่นี่ คือ ใช้เส้นเล็กปรุงด้วยกุ้งแห้งป่น แคบหมูชิ้นเล็ก หอม กระเทียมเจียว หมูบะช่อ ถั่วฝักยาวหั่นเฉียง  น้ำตาลทราย  น้ำมะนาว น้ำปลา มีทั้งก๋วยเตี๋ยวแห้ง และน้ำ ปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียง 2 ร้าน ได้แก่ ร้านป้าบาง ในเขตอำเภอเมืองตาก  และร้านป้าหล้า   ถนนอินทรคีรี   อำเภอแม่สอด

 

ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

อำเภอเมือง

แม่ผง  ถ. ตากสิน (จำหน่ายเครื่องหวายทุกชนิด) โทรศัพท์ : 0 5551 1751

โง้วเอียะเส็ง  252 ถ. ตากสิน (จำหน่ายมะม่วงดอง, กระเทียมดอง) โทรศัพท์ : 0 5551 1324

โชคดีกิ๊ฟช้อพ   298/6 ถ. ตากสิน (จำหน่ายเซรามิค) โทรศัพท์ : 0 5551 4246

อรพรรณ   77/9-11 ถ. มหาดไทยบำรุง (จำหน่ายกล้วยอบน้ำผึ้ง) โทรศัพท์ : 0 5551 1830

ลิ่มฮั่วเซ้ง  257/2 ถ. มหาดไทยบำรุง (จำหน่ายมะม่วงดองน้ำผึ้ง, กล้วยอบน้ำผึ้ง, กล้วยกวน)  โทรศัพท์ : 0 5551 1510

อำเภอแม่สอด
รัตนภาพพลอย  1995 11/2-3 ถ. ศรีพานิช ต. แม่สอด (จำหน่ายภาพประดิษฐ์จากพลอย) โทรศัพท์ : 0 5553 2954, 0 5553 2386

ใต้ดิน  359/4-5 หมู่ 2 ถ. สายเอเซีย (จำหน่ายของเก่าเฟอร์นิเจอร์) โทรศัพท์ : 0 5553 2910

10 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 13622 ครั้ง